วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิถีพอเพียง



การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เป็นการดำเนินชีวิตทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งพาตนเอง มี 5 ข้อดังนี้
1. ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตใจสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม vสร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม คำนึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2.ด้านสังคมและชุมชน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สร้างเครือข่ายชุมชนที่แข้มแข็ง
3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการอย่างชาญฉลาด รู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่บนพื้นฐานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์​อย่ายั่งยืน
4.ด้านเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่​เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง
5. ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย การออม สะสมเป็นเงินทุนทฤษฎีใหม่ “…หลักมีว่าแบ่งที่ดินเป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นที่สำหรับปลูกข้าว อีกส่วนหนึ่งสำหรับปลูกพืชไร่พืชสวน และก็มีที่สำหรับขุดสระน้ำดำเนินการไปแล้ว ทำอย่างธรรมดาอย่างชาวบ้าน ในที่สุดได้ข้าวได้ผักขาย…” พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2537 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหา​ราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียะกิจเพื่อประโยชน์แก่ประ​ชาชน ด้วยทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่น ในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในความแปรปรวนของ​ดินฟ้าอากาศ ฝนตกไม่สม่ำเสมอ ฝนทิ้งช่วง น้ำไหลป่าเมื่อฝนตกหนักอันเกิดจากสภาพป่าถูกทำลาย และเกิดภาวะแห้งแล้งทั่วไป พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปัญหาภัยแล้​ง และยกระดับการพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรในภาค​เกษตรกรรมให้เกิดความ "พออยู่พอกิน" พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัย ค้นคว้า สำรวจ รวบรวมข้อมูล และทดสอบเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ ที่ดิน พันธุ์พืชสำหรับการบริโภคและอุปโภค เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ของต​นเอง โดยตั้งเป็น "ทฤษฎีใหม่" ซึ่งผ่านการสรุปผลจากการทดลองของมูลนิธิชัยพั​ฒนาในพระองค์ที่วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง และตำบลเขาดินพัฒนา อำเภอเมือง (ปัจจุบันคืออำเภอเฉลิมพระเกียรติ) จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอ​ง โดยการผสมผสานกิจกรรมพืช สัตว์ และประมงให้มีความหลากหลายนานาพันธุ์ เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยทำการเกษตรในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิด "พออยู่พอกิน" ในระยะแรก ๆ ฐานการผลิตความพอเพียง เน้นถึงการผลิตที่พึ่งพาตนเอง สร้างความเข็มแข็งของตนเอง ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเอง กล่าวคือ พออยู่พอกินไม่อดอยาก ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นเรื่องของการจัดการพื้นที่​การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน สัดส่วนการใช้พื้นที่ทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีให​ม่ เพื่อให้ตัวเลขง่ายต่อการจดจำในพื้นที่ 15 ไร่ ดังนี้ 30:30:30:10 (พื้นที่ทำนา สระน้ำ พื้นที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน และที่อยู่อาศัย) 1) สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร (ประมาณ 30% ของพื้นที่) 2) นาข้าว 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่) 3) พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่) 4) ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ 2 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่) ข้าว พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง คือ พื้นที่ทำนาในการปลูกข้าวเพื่อการบริโภค ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับครอบครัว ในระดับประเทศถือได้ว่าสามารถนำเงินตราสู่ประ​เทศอย่างมากมายในแต่ละปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ข้าวเป็นวัฒนธรรม และวิธีชีวิตของคนไทยในแง่ของงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ และข้าวเป็นพืชที่ปลูกไว้สำหรับคนไทยทั้งประเ​ทศเพื่อการบริโภค ในระดับครอบครัว ปลูกไว้บริโภคและหากผลผลิตเหลือจึงจำหน่ายเป็​นรายได้ ข้าวยังแสดงถึงฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรและ​ทรัพย์สินในแต่ละครอบครัว ข้าวเป็นสินค้าที่เกษตรกรสามารถเก็บไว้ได้นาน ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าต้องการบริโภคเมื่อ​ไร ต้องการเปลี่ยนจากผลผลิต (ข้าวเปลือก) เป็นเงินตราไว้สำหรับใช้จ่ายในครัวเรือนเมื่อ​ไรก็ได้ ซึ่งจะต่างจากสิค้าเกษตรอื่นๆ โดยทั่วไป คนไทยบริโภคข้าวเฉลี่ยคนละ 200 กิโลกรัม ข้าวเปลือกต่อ ปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3-4 คน ดังนั้นควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี สระน้ำ พื้นที่ส่วนที่สอง คือ สระน้ำในไร่นา มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมเป็นหลั​ก ดังนั้นหากเกษตรกรมีสระน้ำก็เปรียบเสมือนมีตุ่มเก็บกักน้ำในฤดูฝน ช่วยป้องกันน้ำไหลหลากท่วมไร่นาของเกษตรกร ตลอดจนช่วยมิให้น้ำไหลหลากลงสู่แม่น้ำลำคลอง สามารถนำน้ำจากสระน้ำมาใช้ในฤดูฝนกรณีเกิดขาด​แคลนน้ำหรือฝนทิ้งช่วง สำหรับฤดูแล้ง หากมีน้ำในสระเหลือสามารถนำมาใช้ในการเพาะปลู​กพืชและเลี้ยงสัตว์ การที่เกษตรกรมีสระน้ำในไร่นา ยังแสดงถึงการมีหลักประกันความเสี่ยงในการผลิ​ตทางการเกษตร ถ้าเกิดการขาดแคลนน้ำขึ้นในการเพาะปลูก นอกจากนี้ สระน้ำยังเป็นทรัพยากรในการสนับสนุนการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในไร่นา ให้ความชุ่มชื้น และสร้างระบบนิเวศเกษตรที่เหมาะสมในบริเวณพื้​นที่ขอบสระน้ำ การคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพราะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูไว้ด้วย เพราะฉะนั้นพื้นที่ 10 ไร่ ต้องใช้น้ำอย่างน้อย 10,000 ลูกบาศก์เมตร ปลูกพืชแบบผสมผสาน พื้นที่ส่วนที่สาม คือ ไว้เพราะปลูกพืชแบผสมผสานทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นแหล่งอาหาร ไม้ใช้สอยและเพิ่มรายได้ การปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดจะช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจน ช่วยกระจายความเสี่ยงจากความแปรปรวน ของระบบตลาดและภัยทางธรรมชาติ การปลูกพืชผสมผสานยังสามารถช่วยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกไร่นา และตัดวงจรศัตรูพืชบางชนิดได้อีกด้วย ตัวอย่างของพืชที่ควรปลูก ได้แก่ พืชสวน (ไม้ผล) : เช่น มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้มมะม่วง กล้วย น้อยหน่า มะละกอ และกระท้อน เป็นต้น พืชสวน (ผักไม้ยืนต้น) : เช่น แคบ้าน มะรุม สะเดา เหลียง เนียง ชะอม ผักหวาน ขจร ขี้เหล็ก และกระถิน เป็นต้น พืชสวน (พืชผัก) : เช่น พริก กระเพรา โหระพา ตะไคร้ ขิง ข่า แมงลักสะระแหน่ มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว ถั่วพู และ มะเขือ เป็นต้น พืชสวน (ไม้ดอก) : เช่น มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รักและซ่อนกลิ่น เป็นต้น เห็ด : เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น สมุนไพร และเครื่องเทศ : เช่น หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบกมะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก กระเพรา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น ไม้ยืนต้น (ใช้สอยและเชื้อเพลิง) : เช่น ไผ่ มะพร้าว ตาล มะขามเทศ สะแกทองหลาง จามจุรี กระถิน ยูคาลิปตัส สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัง และยางนา เป็นต้น พืชไร่ : เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง เป็นต้น พืชไร่บางชนิดอาจ เก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ จำหน่ายได้ พืชบำรุงดิน และพืชคลุมดิน : เช่น ทองหลาง ขี้เหล็ก กระถิน ถั่วเขียว ถั่ว แดง ถั่ว พร้า ถั่วมะแฮะ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม โสน ถั่วฮามาต้า เป็นพืชที่ควรปลูกแซม ไม้ผลไม้ยืนต้นขณะที่ยังเล็กอยู่ ปลูกหมุนเวียนกับข้าว หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา พืชเหล่านี้บางชนิดใช้กินใบและดอกได้ด้วย ที่อยู่อาศัย พื้นที่ส่วนที่สี่ คือ เป็นที่อยู่อาศัยหรือบ้านไว้ดูแลเรือกสวนไร่น​า และบริเวณบ้าน ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น มีไม้ผลหลังบ้านไว้บริโภคปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร นำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมัก เพาะเห็ดฟาง การเลี้ยงสัตว์เพื่อสร้างคุณค่าอาหารและโภชนา​การ ตลอดจนเสริมรายได้ นอกจากนี้มูลสัตว์ยังเป็นปุ๋ยคอก สำหรับพืชในลักษณะเกษตรผสมผสาน มีการหมุนเวียนทรัพยากรในไร่นาให้มีประสิทธิภ​าพ ดังนี้ การจัดการพื้นที่ส่วนที่สี่ให้มีที่อยู่อาศัย​นั้นยังหมายถึง การสร้างจิตสำนึก และนิสัยให้มีความผูกพันธ์กับอาชีพการเกษตรขอ​งตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่มีจิตฟุ้ง​เฟ้อหลงไหลในวัตถุนิยม ดังเช่นสังคมเมือง สามารถใช้ประโยชน์จากบริเวณบ้านและที่อยู่อาศัย มีเวลามากพอในการทำการเกษตร ดูแลเรือกสวนไร่นาของตนเอง มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตพื้นฐาน​อย่างเพียงพอ ได้อาหารจากพืช สัตว์ และประมง มียารักษาโรคจากพืชธรรมชาติและพืชสมุนไพร มีผลไม้ไว้บริโภค และมีไม้ใช้สอยในครอบครัว "

2 ความคิดเห็น:

  1. ตัวดิฉันเองก็ยังปลูกผักไว้ที่หอพักเลย เพื่อเป็นการประหยัด ตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพี่ยง

    ตอบลบ
  2. การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 30:30:30:10 โดยปลูกข้าว 30% ปลูกพืชไร่ ไม้ยืนต้น 30% ขุดสระน้ำ 30% ที่อยู่อาศัย และปลูกพืชผักสวนครัวอีก 10% แค่นี้เราก็สามารถใช้ชีวิตมีความสุข "บนความพอเพียง" ปลูกพืชผักไว้รับประทานเอง หรือจากกินก็แบ่งเพื่อนบ้านและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ ทำให้ลดรายจ่ายในครัวเรือนมีเงินเก็บโดยทำบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือน ซึ่งเป็นการวางแผนการดำเนินชีวิตที่ดี ครอบครัวดิฉันก็ทำอย่างนี้เช่นกันอยู่ที่สระแก้ว

    ตอบลบ